ประวัติผู้ประเมิน
ข้อตกลง PA และรายงานผลการปฏิบัติงาน
ผลงานประเมิน PA
นางสาวสุวิมล อุดมวรรณ
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) ๒
ประวัติส่วนตัวผู้รับประเมิน
ส่วนที่ 1 ข้อตกลงในการพัฒนางานตามมาตรฐานตำแหน่ง
1. ภาระงาน จะมีภาระงานเป็นไปตามที่ก.ค.ศ. กำหนด
1.1 ชั่วโมงสอนตามตารางสอน รวมจำนวน 20 ชั่วโมง/สัปดาห์ ดังนี้
รายวิชา สังคมศึกษา จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
รายวิชา พระพุทธศาสนา จำนวน 8 ชั่วโมง/สัปดาห์
กิจกรรมพัฒนาผู้เรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมลูกเสือ จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
- กิจกรรมชุมนุม จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.2 งานส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 10 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.3 งานพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษา จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
1.4 งานตอบสนองนโยบายและจุดเน้น จำนวน 4 ชั่วโมง/สัปดาห์
ส่วนที่ 2 ข้อตกลงในการพัฒนางานที่เป็นประเด็นท้าทาย ในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
ประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์
สภาพปัญหาของผู้เรียนและการจัดการเรียนรู้
ในการจัดการเรียนรู้รายวิชาพระพุทธศาสนาที่ผ่านมา พบว่าผู้เรียนขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และไม่สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้และผู้เรียนยังไม่มีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โดยใช้กระบวนการเผชิญสถานการณ์เพื่อเชื่อมโยงการกระทำกับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน ซึ่งถือว่าเป็นทักษะพื้นฐานสำคัญที่จะส่งผลให้ผู้เรียนพัฒนาทักษะการคิดด้านอื่นๆ ที่สูงขึ้น การคิดวิเคราะห์จะช่วยให้ผู้เรียนรู้ข้อเท็จจริง รู้เหตุผลเบื้องต้นของสิ่งที่เกิดขึ้น เข้าใจความเป็นมาเป็นไปของเหตุการณ์ รู้ว่าเรื่องนัั้นมีองค์ประกอบอะไรบ้าง รู้รายละเอียดของสิ่งต่างๆ ทำให้ได้ข้อเท็จจริงที่เป็นพื้นฐานความรู้ เพื่อนำไปใช้ในการตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างถูกต้อง ซึ่งแนวทางการจัดการเรียนรู้โดยอาศัยกระบวนการคิดวิเคราะห์แบ่งเป็น 4 ขั้นตอน ได้แก่ การกำหนดประเด็นปัญหา การวิเคราะห์หาคำตอบ การสรุปคำตอบและกรอบแนวคิด การขยายผลสู่การปฏิบัติหรือสร้างสรรค์ผลงาน และผ่านกระบวนการเผชิญสถานการณ์ทั้ง 6 ขั้นตอน เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำทักษะที่ได้เรียนรู้ไปใช้เกิดประโยชน์ในชีวิตประจำวันได้
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: ลักษณะงาน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.1 สร้างและพัฒนาหลักสูตร :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.2 การออกแบบการจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.3 การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.4 สร้างและหรือพัฒนาสื่อ นวัตกรรม เทคโนโลยี และแหล่งเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.5 การวัดและประเมินผล :::
1) ชิ้นงานที่เกิดจากการทำกิจกรรมกระบวนการเผชิญสถานการณ์ในการปฏิบัติตนเป็นชาวพุทธที่ดีในชีวิตจริง
2) แบบฝึกหัดหลังเรียน เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
3) แบบประเมินการนำเสนอผลงาน
4) แบบสังเกตพฤติกรรมการทำงานกลุ่ม
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.6 ศึกษาค้นคว้า วิเคราะห์ สังเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ :::
1) ทักษะการคิดวิเคราะห์ คุณค่าและความสำคัญ
2) กระบวนการเผชิญสถานการณ์เพื่อเชื่อมโยงการกระทำกับการคิด
วิเคราะห์เข้าด้วยกัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.7 จัดบรรยากาศที่ส่งเสริมและพัฒนาผู้เรียน :::
1) เร้าความสนใจด้วย สื่อการสอน ที่นำนวัตกรรม เทคโนโลยี ที่ทันสมัย เข้ามาใช้ในการจัดการชั้นเรียน
2) ผู้เรียนทุกคนมีโอกาสนำเสนอความรู้ที่ได้จากการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ โดยผู้เรียนสามารถสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ซึ่งเป็นแก่นความรู้ได้อย่างแท้จริง
3) เชื่อมโยงหลักธรรมทาง พระพุทธศาสนากับชีวิตจริงในการดำรงชีวิตของผู้เรียน โดยให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม วิเคราะห์ เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคม โดยผู้เรียนช่วยกันนำเสนอด้วยการประยุกต์ใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา (อริยสัจ 4)
4) ใช้สื่อการเรียนการสอน คือ power point เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
5) ใช้รูปแบบการสอนด้วยกระบวนการเผชิญสถานการณ์เพื่อเชื่อมโยงการกระทำ
ก กับการคิดวิเคราะห์เข้าด้วยกัน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๑ ด้านการจัดการเรียนรู้
::: 1.8 อบรมและพัฒนาคุณลักษณะ ที่ดีของผู้เรียน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: ลักษณะงาน :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.1 จัดทำข้อมูลสารสนเทศของผู้เรียนและรายวิชา :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.2 ดำเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน:::
- มีการวิเคราะห์ผู้เรียน โดยใช้ผลการเรียนจากภาคเรียนที่ 1/2565 ในรายวิชาพระพุทธศาสนา
- หลังพบผู้เรียนที่ขาดทักษะการคิดวิเคราะห์และไม่สามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาปรับประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวันได้และผู้เรียนยังไม่มีการเชื่อมโยงความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ดังนั้น ครูผู้สอนจึงจัดทำข้อตกลงในการพัฒนางานประเด็นท้าทาย เรื่อง การแก้ปัญหาการขาดทักษะการคิดวิเคราะห์คุณค่าและความสำคัญของหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เพื่อแก้ไขปัญหาและช่วยเหลือผู้เรียน
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.3 ปฏิบัติงานวิชาการ และงานอื่นๆ ของสถานศึกษา :::
- รองหัวหน้าระดับฝ่ายวิชาการ ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๒ ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้
::: 2.4 ประสานความร่วมมือกับผู้ปกครอง ภาคีเครือข่าย และหรือสถานประกอบการ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: ลักษณะงาน :::
::3.1 พัฒนาตนเองอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: 3.2 มีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพเพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ด้านที่ ๓ ด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
::: 3.3 นำความรู้ ความสามารถ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้ การพัฒนาคุณภาพผู้เรียน และการพัฒนานวัตกรรม การจัดการเรียนรู้ :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ส่วนที่ 2
ประเด็นท้าทายในการพัฒนาผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
::: ประเด็นท้าทาย :::
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล
วิธีการดำเนินการให้บรรลุผล (ต่อ)
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.1 เชิงปริมาณ
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 372 คน ได้รับการแก้ปัญหาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ทั้ง 6 ขั้นตอน ในรายวิชาพระพุทธศาสนา รหัสวิชา ส 32103 ดังนี้
1) แบบฝึดหัด เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80
ของผู้เรียนทั้งหมด
2) กิจกรรมกระบวนการเผชิญสถานการณ์ เรื่อง หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียนทั้งหมด
3) ผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์ได้รับการซ่อมเสริม และปรับปรุงผลการเรียนให้ดีขึ้นไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 ของผู้เรียนที่ไม่ผ่านเกณฑ์
ผลลัพธ์การเรียนรู้ของผู้เรียน
3.2 เชิงคุณภาพ
ผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 10 ห้อง รวมจำนวนผู้เรียนทั้งหมด 372 คน ได้รับการแก้ปัญหาการด้านทักษะการคิดวิเคราะห์ มีทักษะการคิดวิเคราะห์และสามารถนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนามาแก้ไขปัญหาในการดำเนินชีวิตในปัจจุบันได้อย่างเหมาะสม และผู้เรียนสามารถเชื่อมโยงและประสบการณ์ตามกระบวนการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการเรียนรู้กระบวนการเผชิญสถานการณ์ทั้ง 6 ขั้นตอน จากการพัฒนาตนเองและการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC)